องค์ประกอบภาพถ่ายมาโครที่ดี


- มีความคมชัดของตัวแบบ

หากตัวแบบในภาพไม่คมชัด ก็แทบจะลืมเรื่องอื่นไปได้เลย สิ่งที่น่าสนใจที่สุดในภาพคือ ตัวแบบที่เราเก็บมานำเสนอ หากถ่ายภาพผีเสื้อสักตัว แล้วได้ภาพผีเสื้อเบลอๆกลับมา สีสันหรือสิ่งแวดล้อมในภาพก็ไม่น่าสนใจ ก็เท่ากับว่าเสียเที่ยวเสียเวลาเปล่า

ในการถ่ายมาโครควรถ่ายให้ตัวแบบมีความคมชัดไว้ก่อน หากถ่ายแมลงสักตัวก็ควรเน้นความคมชัที่ดวงตา หากดวงตาคมชัดแต่ส่วนอื่นไม่ชัด (เพราะขนาดตัวแบบใหญ่) ก็ยังดีกว่าไม่ชัดสักส่วนเลย


- ควบคุมความชัดตื้น เน้นจุดเด่นของภาพ

การถ่ายมาโครเราก็พอจะทราบกันแล้วว่า เลนส์มาโครเมื่อถ่ายวัตถุเล็กๆ ให้มีขนาดใหญ่จะมีระยะความคมชัดที่แคบมาก หากเราโฟกัสภาพชัดที่มุมด้านหน้าของแมลงปอสักตัวหนึ่ง ส่วนที่เป็นลำตัว ปีก หาง ก็เบลอจนแทบจะหายไปเลย ระยะความคมชัดที่ชัดเฉพาะบางส่วนแบบนี้เราเรียกว่า ชัดตื้นคือ มีระยะความชัดในภาพแค่ส่วนเดียว โดยส่วนที่เหลือจะเบลอ

เราสามารถนำความชัดตื้นมาทำให้เกิดประโยชน์ และเกิดความสวยงามได้หากเราถ่ายในมุมที่พอเหมาะ ถ้าต้องการเน้นความคมชัดที่ดวงตา และปล่อยให้ส่วนอื่นๆเบลอ จะทำให้ส่วนที่ชัดคือ ดวงตาถูกเน้นขึ้นมาในภาพ ช่วยให้ได้ภาพที่สวยงามแปลกตาไปอีกแบบหนึ่ง

การควบคุมระยะชัดให้อยู่ในช่วงแคบๆ (ชั้นตื้น) ทำได้โดยการปรับรูรับแสงให้มีขนาดใหญ่ หรือมีค่ารูรับแสงเป็นตัวเลขน้อยๆ นอกจากรูรับแสงแล้วสิ่งที่มีผลต่อระยะคมชัดอีกตัวหนึ่งก็คือ ทางยาวโฟกัส

การถ่ายภาพด้วยทางยาวโฟกัสสูงๆ จะทำให้มีระยะคมชัดแคบลง แม้จะใช้รูรับแสงที่มีขนาดเท่ากัน นอกจากนี้ทางยาวโฟกัสสูงๆ ยังช่วยให้ระยะห่างระหว่างตัวแบบกับสภาพแวดล้อมด้านหลังดูห่างกันมากขึ้นอีกด้วย


- ควบคุมความชัดลึก เน้นสภาพแวดล้อม

การถ่ายภาพตัวแบบที่เน้นให้มีระยะความคมชัดสูงๆ หรือชัดทั้งตัว เช่น ถ่ายผีเสื้อด้านข้างเวลาผีเสื้อเกาะหุบปีก จะทำให้เราสามารถมองเห็นรายละเอียด ลวดลาย สีสันที่สะดุดตา หรือหากเราถ่ายภาพที่มีความชัดเกือบทั้งภาพ เราก็จะยิ่งเห็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในภาพ เพื่อนำมาประกอบภาพให้ดู้สมบูรณทมากยิ่งขึ้น

ระยะความชัดที่ชัดเกือบทั้งภาพแบบนี้เราเรียกว่า ชัดลึก ภาพที่มีความชัดลึกสูงๆ เหมาะสำหรับถ่ายภาพเพื่อเล่าเรื่อราวบางอย่างในภาพ เช่น ผีเสื้อกำลังดูดกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ซึ่งมีอยู่รอบๆ หลายดอกเราก็จะรู้ว่า ผีเสื้อชนิดนี้หากินอยู่กับดอกไม้ประเภทนี้ ซึ้งก็จะมีประโยชน์ในด้านการสังเกตพฤติกรรมของผีเสื้อ ในการที่จะมองหาผีเสื้อชนิดนั้นๆ ในครั้งต่อไป

ความชัดลึกสารถควบคุมได้ด้วยรูรับแสง ถ้ารูรับแสงมีขนาดเล็ก (ตัวเลขค่ารูรับแสงมีค่าสูงๆ) ระยะความคมชัดก็จะสูงขึ้น ทำให้เกิดภาพแบบชัดลึกขึ้นมาได้ ซึ่งจะเป็นการปรับค่ารูรับแสงที่ตรงกันข้ามกับชัดตื้น

สำหรับทางยาวโฟกัส ยิ่งใช้ทางยาวโฟกัสที่สั้นก็จะช่วยให้ระยะความคมชัดสูง ทำให้เกิดภาพที่คมชัดมากขึ้น และทำให้ระยะห่างระหว่างตัวแบบห่างมาก ระยะคมชัดจะลึกขึ้น ตำตัวแบบที่ได้ก็จะเล็กลงตามลำดับ


- มีแสงพอเหมาะ

การวัดแสงที่ถูกต้องและเหมาะสมมีความสำคัญสำหรับการถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพแนวไหน การฝึกหัดการวัดแสงในแต่ละสภาพที่เราพบเจอคือ สิ่งที่ต้องฝึกหัดใหม่มาก โดยเฉพาะสภาพแสงที่มีความแตกต่างของแสงสูงมาก เราต้องถ่ายภาพให้มีน้ำหนังของแสงพอดีเพื่อจะได้ภาพที่ไม่สว่าง หรือมืดจนเกิดไป ทำให้ภาพดูสวยงามน่าชมมากขึ้น


- มีจุดเด่นและเรื่อราว

ภาพมาโครก็เหมือนกับภาพแนวอื่นๆ ที่ต้องมีอะไรสักอย่างเป็นตุดเด่นในภาพ ภาพดอกไม่สักดอก แมลงสักตัวที่เราต้องการถ่ายออกมา ทำอย่างไรจึงจะให้สิ่งที่ต้องการเน้นนั้นมีความโด่ดเด่นที่สุดในภาพ


- สัดส่วนและองค์ประกอบภาพที่เหมาะสม

ขนาดของตัวแบบที่เราถ่าย ต้องคำนึงถึงด้วยว่ามีขนาดเท่าไร ควรเข้าใกล้แค่ไหน ความขยายเท่าไรจึงจะขนาดที่เหมาะสม ไม่ควรแน่นจนเต็มภาพจนดูอึดอัด (ยกเน้นต้องเน้นความใหญ่โตเพื่อให้เห็นความละเอียดของตัวแบบ) หรือขนาดเล็กจนดูโหวงเหวง มองแทบไม่เห็นตัวแบบ


- มีเรื่องราวที่ดูและสื่อสารได้

จัดวางภาพให้ดูมีเรื่องราว ให้สามารถสื่อสารออกมาจากภาพได้ว่าเรานำเสนออะไร การถ่ายภาพมาโคร เราสามารถเน้นเรื่อราวในภาพได้ ภาพบางภาพเมื่อเห็นสถานการณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยจะยิ่งน่าชมมากกว่า

หากต้องการถ่ายภาพดอกไม่ 1 ดอก ให้ลอกลึกถึงเรื่องราวที่จะสื่อสาร ถ้าดอกไม้ดอกนั้นมีผีเสื้อมาเกาะด้วยจะน่าดูมากว่า เพราะถ้ามีผีเสื้อเกาะอยู่ มันน่าจะทำให้คิดถึงเรื่องราวได้อีกหลายอย่าง เช่น ผีเสื้อชนิดนี้นี้แหละชอบดอกไม้ชนิดนี้


- สะดุดตา น่าติดตาม และโดดเด่น

มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เราสร้างความสะดุดตา ความน่าติดตาม หรือสร้างความโดดเด่นให้กับภาพ เช่น สีสัน เรื่องราวของการล่า สายลมที่พัดไหว ความเป็นไปของชีวิตเล็กๆ หากเรารู้จักที่จะเก็บเรื่องราวเหล่านั้นเข้ามาใส่ในภาพมาโครของเรา ก็จะทำให้ภาพนั้นน่าดูมากขึ้น

เราต้องเลือกจุดใดจุดหนึ่ง (ของตัวแบบ) ในภาพให้เกิดความสะดุดตา ในตัวแบบที่ถ่ายอาจจะมีหลายสิ่งที่สามารถเลือกมาเป็นจุดเด่นได้ แต่เราไม่ควรเลือกมาทั้งหมด ควรเลือกแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราจะเน้นที่สุดเพื่อให้เกิดความสะดุดตา เช่น ภาพเงาสะท้อนของดอกไม้ในหยาดน้ำค้าง เข้าใกล้ๆ ถ่ายชัดๆ จะดูสะดุดตาน่าสนใจอย่างยิ่ง


- เน้นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในภาพ

หากเราพบเรื่องราวที่เกิดขึ้นและเก็บภาพไว้ได้ เช่น แมลงมุมกำลังจับแมลงปอกินอย่างเอร็ดอร่อย นี่แหละคือเรื่องราวของธรรมชาติที่เราเก็บมานำเสนอผ่านมุมมองของเรา ทำให้คนดูสามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่ต้องคิดมากยิ่งง่ายยิ่งดูดี ภาพมาโครไม่ค่อยมีอะไรซับซ่อนอยู่แล้ว บางทีดอกไม้สีแดงดอกเดียวในฉากหลังเบลอๆ สี้เชียวก็สามารถเรียกความประทับใจจากคนดูภาพของเราได้มากมาย

“ความเรียบง่ายคือสิ่งที่ดีที่สุด” เป็นวลีอมตะที่ใครกล่าวไวว้ก็ไม่ทราบ แต่นำมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้ผลเมื่อนั้น


- สัมผัสได้ง่าย เข้าใจถึงความงามได้ง่าย

ภาพมาโครที่ดีควรจะสัมผัสได้ง่าย มองครั้งเดียวสามารถเข้าใจและมองเห็นในสิ่งสวยงามในภาพถ่ายโดยไม่ต้องนั่งคิดซับซ้อนให้วุ่นวาย ภาพบางภาพดูเท่าไรก็ไมเข้าใจ มองซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ยังไม่รู้ว่า คืออะไร ภาพมาโครส่วนใหญ่ก็มักจะเรียบง่าย สัมผัสได้ง่ายอยู่แล้ว เพราะจะเป็นภาพที่เน้นถ่ายใกล้ๆ ให้เห็นรายละเอียด ให้รู้ว่าสิ่งนี้รูปร่างเป็นแบบนี้ รายละเอียดแบบนี้ ซึ่งไม่ค่อยมีอะไรซับซ้อนอยู่แล้ว


- มีความเป็นเอกลักษณ์

เมื่อเราถ่ายไปสักระยะหนึ่ง เราก็จะหาแนวถ่ายของเราเจอ และจะทราบว่าเราถนัดการถ่ายภาพตัวแบบแบบไหน หากเราเน้นถ่ายตัวแบบนั้นๆบ่อยๆ ให้ได้ภาพที่สวยงาม จะมีคนชอบดูและค่อยติดตามผลงานของเราอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น