ฝึกถ่ายภาพมาโครขั้นพื้นฐาน

การถ่ายภาพมาโครนั้นต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ และเทคนิคบางอย่างที่แตกต่างออกไป จากการถ่ายภาพบุคคล หรือ การถ่ายภาพสถานที่พอสมควร สิ่งแรกที่ควรคำนึงคือ คุณรู้จักซับเจคของคุณแล้วจริงๆ รึยัง คุณสนใจเรื่องการโฟกัสพอหรือยัง ความเที่ยงตรงแม่นยำของกล้องที่ใช้ก็เป็นส่วนสำคัญ คุณต้องทำความเข้าใจด้วยว่าจะทำงานเข้ากันกับแฟลชที่คุณมีอย่างไร เมื่อเรามีความเข้าใจในการถ่ายมาโครมากพอแล้ว ก็เริ่มลงมือปฏิบัติ

หาตัวแบบที่น่าสนใจ


> ดอกไม้
- หาดอกไม้ที่มีรูปร่างสวยงาม แปลกตา
- มีสีสันสวยงาม
- เป็นดอกไม้ที่มีความสมบูรณ์ ไม่เหี่ยว กลีบไม่ช้ำหรือเว้าแหว่ง
- ดอกไม้ที่อยู่เป็นกลุ่มๆ บานสพั่ง
- ดอกไม้ที่อยู่เดี่ยวๆ แลดูโดดเด่น
- ดอกไม้ที่อยู่เป็นคู่น่ารัก เป็นคู่เหมือน หรือมีสิ่งเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน


>ใบไม้
- รูปทรงแปลกๆ แตกต่างไปจกที่เราเคยเห็น
- มีสีสันสวยงาม
- ใบไม้แห้ง และใบไม้ร่วงหล่นเต็มพื้น
- กองใบไม้ที่มีลักษณะหลายรูปแบบ หลายสีสัน


> หยาดน้ำค้าง
- หยาดน้ำค้างเป็นแถวๆ หลายๆ หยดตามกิ่งไม้ ใบไม้
- รูปทรงสวยงาม เช่น หยาดน้ำค้างยามเช้าใกล้หยดลงมา
- หาเงาสะท้อนในหยดน้ำ
- น้ำค้างบนดกไม้


> แมลง
- หาแมลงแปลกกๆ ที่ไม่ค่อยได้พบเจอทั่วไปในชีวิตประจำวัน
- มีสีสันแปลกตา
- เป็นแมลงที่มีความสมบูรณ์ ปีกไม่ขาด ขาไม่หัก

> เลือกมุมที่จะถ่าย
ลองพิจารณาด้วยสายตาของเราดูก่อนว่าควรถ่ายมุมไหนถึงจะสวยจึงจะงาม ตัวแบบแต่ละชนิดมีหลายมุมที่สวยงาม แปลกตา และแตกต่างกันออกไป หากยังมองมุมไม่เก่ง ก็เริ่มต้นจากการถ่ายหน้าตรงไว้ก่อน หากเป็นดอกไม้ก็ถ่ายดอกไม้ดอกหนึ่งเต็มๆ ดอก หากเป็นแมลงก็ถ่ายแมลงเต็มๆตัว หากเป็นใบไม้ก็ถ่ายใบไม้เต็มๆใบ หรือน้ำค้างก็ถ่ายแบบที่มองเห็นแต่แรก การเข้ามุมของตัวแบบแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น
- ดอกไม้ ใบไม้ ก็เข้าหาได้ง่าย ใกล้ เพระมันอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว หนีเราไปไหนไม่ได้
- หยาดน้ำค้าง ก็เข้าหายากขึ้น โดยเราไม่สามารถเข้าไปสัมผัสกับอะไรในบริเวณนั้นได้ เพราะเมื่อเรากะรทบกระทั่งแม้เพียงเล็กน้อย น้ำค้างก็จะร่วงลงพื้นหาไปในพริบตา
- แมลง ก็ดูจะยากสักหน่อยในการเข้าหา เพราะ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนไหวได้ แถวรวดเร็วอีกด้วย การเคลื่อนไหวช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ทำให้เกิดเสียงหรือเป็นสิ่งรวบกวนแมลงน้อยที่สุด ก็จะทำให้เราเข้าใกล้ได้ง่าย และเข้าใกล้ได้มาขึ้น

สำรวจฉากหลังเสียก่อน

อยากได้ฉากหลังเบลอๆ เนียนๆ ก็หามุมที่มีฉากหลังไกลออกไป จะทำให้การถ่ายแบบฉากหลังเบลอง่ายขึ้น การถ่ายด้วย F กว้างๆ ทำให้ฉากหลังเบลอมากขึ้นก็จริง แต่ในการถ่ายภาพมาโครแล้วจะทำให้ตัวแบบชัดตื้นมากๆ
หากอยากให้ตัวแบบชัดลึกต้องใช้ F แคบๆ ฉากหลังก็ควรออกไปไกลสักหน่อย จึงจะได้ภาพที่ทั้งชัดลึกและฉากหลังเบลอๆ บางมุมมองก็มีสิ่งแวดล้อต่างๆ อยู่ในฉากหลังมากและใกล้ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงและให้ไปถ่ายมุมอื่นที่สวยงามกว่าแทน

เสริมมุมมองและองค์ประกอบของภาพ

การนำสิ่งที่เรามองเห็นในสภาพแวดล้อมที่เราถ่ายและนำมาใช้ประกอบในภาพด้วยจะทำให้เกิดประโยชน์ เช่น แมลงปอเกาะบนใบหญ้าหางกระรอก ที่มีรายละเอียดเป็นเส้นขน การเบี่ยงมุมเพื่อหามุมย้อนแสงทำให้เกิดการเรืองแสง จะทำให้รายละเอียดในภาพมากขึ้น นอกจากการเห็นแมลงปอเพียงอย่างเดียว
หากผีเสื้อเกาะบนใบไม้ การใช้เส้นนำสายตาโดยใช้ลวดลายของใบไม้ ก็ทำให้สิ่งแวดล้อมมีประโยชน์เพิ่มขึ้น การทำให้ใบไม้เป็นกรอบภาพเป็นฉากหน้าเพื่อสร้างมิติในภาพ เหล่านั้นคือประโยชน์ทั้งสิ้น

แสงเงาและความเปรียบต่างของแสง

แสงเงาที่จริงมีความสำคัญมากในการถ่ายภาพ (ทุกแนวไม่เฉพาะมาโคร) การหาทิศทางของแสงและเงาที่เหมาะสม จะช่วยให้เกิดรายละเอียดในภาพมากขึ้น สวยงามขึ้น และชวนมองมากขึ้น
ความเปรียบต่างของแสง (Contrast) ช่วยเพิ่มน้ำหนักของภาพ หากได้ความเปรียบต่างของแสงเข้ามาเสริมให้เกิดความแตกต่างในภาพที่เหมาะสม จะยิ่งทำให้ภาพดูดีขึ้น การถ่ายอาจยากขึ้นบ้างแต่ประโยชน์ที่ได้จะมีเพิ่มขึ้นอีกมากมาย

การวางตำแหน่งตัวแบบ
หากเราวางตำแหน่งตัวแบบได้หน้าสนใจ การมองเห็นจะดูโดดเด่นเสริมความน่าดูขึ้นอีกมาก กฎพื้นฐานต่างๆ เช่น จุดตัด 9 ช่อง , กฎ 3 ส่วน , ซึ่งสามารถเรียนรู้ ปฏิบัติได้ง่าย และมีผลต่อภาพ เราก็นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
การวางตัวแบบอยู่ตรงกลางภาพซ้ำๆ กันในทุกภาพ นอกจากจะทำให้ภาพดูคล้ายกันไปหมดแล้ว ยังชวนให้น่าเบื่ออีกด้วย การถ่ายมาโครแบบง่ายๆ แต่ๆได้ภาพที่ดูดีก็ต้องคำนึงถึงเรื่องพวกนี้ประกอบด้วย

ควบคุมโฟกัสให้ได้

เราอาจถนัดในการใช้ระบบโฟกัสคนละแบบ บางคนชอบออโตโฟกัสเพราะง่าย เร็ว ทันใจ โดยเฉพาะกล้องและเลนส์รุ่นใหม่ๆ ทั้งว่องไว แม่นยำ ช่วยให้การถ่ายภาพของเราง่ายขึ้น แต่ก็จะมีปัญหาอยู่บ้างเมื่อเราต้องการจัดภาพไปด้วย เพราะเมื่อเราโฟกัสและล็อคโฟกัสไว้แล้ว เวลาที่เราเคลื่อนกล้องเพื่อจัดภาพก็ทักจะมีปัญหาเกิดขึ้นเสมอ เพราะเวลาเคลื่อนกล้อง เราไม่ได้เคลื่อนกล้องในมุมที่ขนานกับตัวแบบที่เราโฟกัสไว้ทำให้โฟกัสมันเคลื่อน
บางคนชอบโฟกัสแบบแมนนวลโฟกัส เพราการแมนนวลโฟกัสจะทำให้เราจัดภาพได้เบ็ดเสร็จในคราวเดียว เมื่อเราหมุนโฟกัสเพื่อให้ได้ขนาดตัวแบบตาที่ต้องการ จัดตำแหน่งตัวแบบในภาพเรียบร้อยแล้ว เราก็มองเข้าไปในช่องมองภาพ แล้วก็ปรับโฟกัสไปตำแหน่งที่เราอยากให้ชัด โฟกัสภาพได้ชัดเจนแล้วก็กดชัตเตอร์ได้เลย หากถ่ายด้วยมือเปล่าแล้วมือไม่นิ่งพอ ก็ควรหาขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์/รีโมทมาใช้เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้นิ่งยิ่งขึ้น ทำให้ได้ภาพที่คมชัดไม่เบลอ

ควบคุมความชัดลึกนี้คือพื้นฐานที่เราควรรู้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดตัวแบบและอัตราการขยายด้วย หากอัตราการขยายมากระยะชัดก็จะบางมาก เช่น ถ้าถ่ายภาพด้วยเลนส์ที่มีอัตราการขยาย 1:1 ระยะชัดจะบางแค่ 1-2 มม. เท่านั้นเอง หากอัตราขยายน้อยลงระยะชัดก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ

ระยะชัดบางๆ เวลาถ่ายแมลงปอจะชัดแค่ตาเท่านั้นเอง ปีกและหางจะเบลอไปหมดในสถานการณ์ที่แสงมากพอ และอยู่ในมุมที่ไม่มีอุปสรรค การกำหนดความชัดก็สามารถทำได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถปรับค่ารูรับแสง (F) ให้เป็นค่าที่เหมาะสมได้ แต่ถ้าสถานการณ์ไม่เป็นใจจะทำอย่างไร เราอาจถ่ายได้ไม่ชัดลึกตามที่ต้องการ วิธีเหล่านี้อาจจะช่วยได้
- ใช้การถ่ายภาพชัดตื้นให้เป็นประโยชน์ เน้นเฉพาะบางส่วนของตัวแบบ
- เข้ามุมที่มีความขนานกับตัวแบบให้มากที่สุด เช่น เข้ามุมขนานกับปีกผีเสื้อทางด้านข้าง , เข้ามุมด้านข้างของแมลงปอ เพื่อให้เห็นพื้นที่บนตัวแบบชัดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ใช้แฟลชช่วยเพื่อเพิ่มปริมาณแสง ทำให้สามารถปรับรู้รับแสงได้แคบมาก

หาสถานการณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

ภาพที่มีสถานการณ์เข้ามาเกี่ยวข้องจะดูน่าตื่นเต้นกว่าภาพปกติ เช่น การผสมพันธุ์ของแมลง , การกินอาหาร , หรืออิริยาบถที่น่าเอ็นดู ยิ่งเป็นสถานการณ์ที่พบเห็นได้ยากเท่าไร ก็จะทำให้ภาพดูน่าตื่นเต้นและน่าติดตามากขึ้น บางครั้งเราสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้เป็นชุด แล้วนำมาเรียงร้อยตั้งแต่ต้นจนจบจะยิ่งน่าดูมาก และมีประโยชน์ในการศึกษา เรียนรู้ความเป็นไปของธรรมชาติยิ่งขึ้นไปอีก

ถ่ายภาพหลายๆแบบ

หากเราพบเจอตัวแบบที่เรามีโอกาสพบเจอได้น้อย เราก็ควรเก็บภาพไว้หลายๆรูปแบบ หลายๆมุมในโอกาสเดียว เพราะอาจพบเจอสิ่งนั้นได้ยาก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ อย่าทิ้งโอกาสถ่ายภาพนั้นไว้เพียงไม่กี่ภาพ พยายามถ่ายหลายๆ แบบไม่ซ้ำกัน ชนิดที่เรียกว่าแพนไปให้รอบตัว หากเรามีโอกาสน้อยที่จะไปยังสถานที่นั้น ในช่วงเวลานั้นๆ อีก ก็ควรเก็บภาพนั้นไว้ให้ครบ ให้ประทับใจในทุกแง่มุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น