เทคนิคการถ่ายภาพมาโคร

โบเก้ (Bokeh)

Bokeh มาจากคำภาษาญี่ปุ่น หมายถึง เลื่อนหรือวิงเวียน เมื่อนำมาใช้กับภาษาถ่ายภาพ หมายถึง แสงสะท้อนที่อยู่นอกโฟกัส เมื่อถ่ายเป็นภาพแล้วจะเกิดผลจากการทำงานของกล้องจะทำให้มีลักษณะรูปดวงกลมหรือ เหลี่ยมๆ เบลอๆ เลือนๆ ปรากฏอยู่ตามฉากหน้าหรือฉากหลัง โบเก้จะมีขนาด รูปร่าง และสีสันที่ต่างกันไปตรมสภาพแสง ขนาดของรูรับแสงที่ปรับ และจำนวนของไดอะแฟรมของรูรับแสงในเลนส์ ยกตัวอย่างเช่น

Macro Lens 60 Micro Nikkor F2.8
เมื่อถ่ายที่ F (รูรับแสง) ต่ำกว่า 8 ลงมา (รูรับแสงกว้างขึ้น) จะให้โบเก้ที่มีรูปทรงกลมๆ เบลอๆ เมื่อถ่ายที่ F (รูรับแสง) แคบกว่า 8 ขึ้นไป (รูรับแสงแคบลง) จะให้โบเก้ที่มีรูปร่างหกเหลี่ยม

TeleZoom Lens 70-300 Sigma APO DG Macro
เมื่อถ่ายที่ F (รูรับแสง) ต่ำกว่า 8 ลงมา (รูรับแสงกว้างขึ้น) จะให้โบเก้ที่มีรูปทรงกลมๆ เบลอๆ เมื่อถ่ายที่ F (รูรับแสง) แคบกว่า 8 ขึ้นไป (รูรับแสงแคบลง) จะให้โบเก้ที่มีรูปร่างเก้าเหลี่ยม

วิธีการถ่ายภาพที่ทำให้เกิดโบเก้




หาตัวแบบให้พบ แล้วสังเกตฉากหลังที่มีแสงสะท้อนอยู่ด้านหลังโฟกัสที่ตัวแบบ แบนกล้องไปหาแสงสะท้อนที่พร่างพราวอยู่ด้านนั้น ปรับรูรับแสงเมื่อต้องรูปร่างของโบเก้ที่แตกต่างแล้วก็ถ่ายภาพ

> ภาพที่มีโบเก้อยู่ในฉาก
- จะทำให้ภาพมีเสน่ห์ ชวนมองยิ่งขึ้น
- จะทำให้ภาพนุ่มนวลชวนฝัน

> หาฉากโบเก้ได้จากที่ไหน
แสงลอดใบไม้ แสงสะท้อนน้ำ แสงจากหลอดไฟ แสงสะท้อนจากหยดน้ำ และหยาดน้ำค้าง หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เกิดแสงสะท้อนที่อยู่นอกโฟกัสออกไป (ฉากหลัง) และที่อยู่ก่อนโฟกัสเข้ามา (ฉากหน้า)

> ความเบลอหรือความชัดของโบเก้
ความเบลอหรือความชัดของโบเก้ขึ้นอยู่กับปริมาณแสงสะท้อน ถ้าแสงสะท้อนแรงๆ เช่น แสงสะท้อนจากน้ำจะทำให้โบเก้คมชัด แสงสะท้อนจากดวงไฟที่มีแสงสว่างมากจะทำให้โบเก้คมชัด และมีสีสันเปลี่ยนไปตามสีของดวงไฟ แสงสะท้อนน้อยๆ เช่น แสงลอดใบไม้จะทำให้โบเก้เบลอ นวล สบายตา และสวยงาม

> ขนาดของโบเก้
ขนาดของโบเก้จะขึ้นอยู่กับระยะห่างตัวแบบกับโบเก้
- ห่างมากโบเก้จะมีขนาดใหญ่ นวล สีจาง
- ห่างน้อยโบเก้จะมีขนาดเล็ก คม ชัด

> สีสันของโบเก้
สีสันของโบเก้ขึ้นอยู่กับแสงสะท้อน หากเกิดจากแสงธรรมชาติ เช่น แสงลอดใบไม้ แสงสะท้อนน้ำ โบเก้จะมีสีขาว หรือขาวขุ่น หากเป็นโบเก้ที่เกิดจากแสงหลอดไฟ โบเก้จะมีสีสันตามสีของหลอดไฟนั้นๆ


ถ่ายมาโครแบบฉากหลังดำ

วิธีถ่ายมาโครแบบให้ฉากหลังเป็นสีดำ

การถ่ายภาพมาโครที่เรานิยมกันมากอีกประเภทหนึ่งก็คือ การทำฉากหลังให้มีสีดำ เพราะเมื่อฉากหลังมีสีดำจะขับตัวแบบให้ดูโดดเด่น ชวนมองยิ่งขึ้น เพราะฉากหลังสีดำจะทำให้มองไม่เห็นอย่างอื่นนอกจากตัวแบบ


> ฉากดำในแสงธรรมชาติ
- ให้ตัวแบบที่เราต้องการถ่ายโดนแสงมากๆ
- มองหาฉากหลังที่ทึบเข้ม และมีแสงออกโทนเทาๆ หรือดำๆ เช่น ร่มเงา
- ถ่าย Mode A ตั้งค่ารูรับแสงขนาดกลาง เช่น 8-11
- วัดแสงตรงจุดที่สว่างที่สุดบนตัวแบบ และล็อคค่าแสงไว้
- เลื่อนดูภาพให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ ถือกล้องให้นิ่งๆ แล้วก็ค่อยถ่ายภาพ ภาพที่ออกมาจะมีฉากหลังที่ทึบเข้ม หรือมีสีดำ สร้างความโดดเด่นให้กับตัวแบบได้ดีมาก

> ฉากหลังดำด้วยการใช้แฟลช
- ใช้ Seep Shtter เร็วๆ เช่น 1/160s , 1/200s , 1/250s
- ใช้ F แคบๆ เช่น 18-22 หรือแคบกว่านั้น
- หาฉากหลังที่ไกลออกไปจากตัวแบบ เพื่อให้แสงแฟลชไปไม่ถึง
- ถ่ายในที่ที่มีปริมาณแสงน้อยกว่าปกติ เช่น ในร่ม

ถ่ายมาโครแบบฉากเบลอ
หาฉากหลังที่ไกลออกไป ยิ่งไกลฉากหลังก็จะยิ่งเบลอมากขึ้นตามลำดับ สำหรับการถ่ายภาพมาโครด้วยเลนส์มาโครแท้ ระยะห่างของฉากหลังแค่ 10 ซม. ก็ถือว่าไกลพอแล้ว ระยะห่าง 10 ซม. สำหรับภาพแนวอื่นๆ อาจจะไม่มีผลอะไร แต่ 10 ซม. สำหรับภาพมาโครโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเราขยายใหญ่มากๆ ฉากที่เห็นจะละลายเป็นสีเดียวกันไปเลย


> ใช้รูรับแสงกว้างๆ
ทดลองปรับค่ารูรับแสงดูก็ได้ เมื่อถ่ายที่รูรับแสงกว้างๆ ฉากหลังก็จะเลือนขึ้นตามลำดับ แต่ทั้งนี้ต้องดูความชัดลึกของตัวแบบ ต้องลองปรับดูด้วยเมื่อเราปรับรูรับแสงกว้างๆ แล้วถ่ายภาพ ด้วยภาพแบบมาโครระยะชัดจะบางสุดๆ ทำให้ฉากหลังละลาย สวยเนียน แต่ตัวแบบจะชัดแค่นิดเดียว ก็อาจไม่ทำให้ได้ภาพสวยงามเท่าที่ควร ขณะถ่ายภาพก็ต้องดูประกอบกันไป และหาความสวยงามเหมาะสมให้ความชัดลึกของตัวแบบและความเบลอของฉากหลังสัมพันธ์กันด้วย

> ซูมเยอะ
เวลาเราซูมภาพเข้าไป หรือขยายให้แบบตัวใหญ่ขึ้นมากๆ ระยะชัดก็จะบางมากขึ้นตามลำดับ ฉากหลังก็จะอยู่ห่างจากโฟกัสเพิ่มมากขึ้น และเบลอเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

> ขยับกล้องเข้าใกล้ตัวแบบ
พยายามขยับกล้องเข้าใกล้ตัวแบบในระยะที่เหมาะสม หากเราอยู่ห่างจากตัวแบบมาก การซูมเข้ามาฉากหลังจะเบลอไม่มากนัก การขยับเข้าใกล้ตัวแบบให้มากขึ้นอาจจะทำให้กำลังขยายน้อยลง แต่กลับทำให้ฉากเบลอมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น